Close

วันต่อต้านยาเสพติดโลก


https://www.oncb.go.th/pages/anti_drugs_2021.aspx


ยาหรือสารที่ถูกนำมาใช้อย่างผิด ๆ หรือเสพติดมีใช้กันมานาน ตั้งแต่มนุษย์เริ่มค้นพบพืช ซึ่งเมื่อเสพเข้าไปแล้วทำให้ ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป ในสมัยโบราณยาหรือสารเหล่านี้มักจะใช้ในพิธีทางศาสนา เช่น ผู้ทำพิธีทางศาสนา ของชาวอินเดียแดงในอเมริกากลาง ใช้ต้นไม้จำพวกกระบองเพชรซึ่งมีสารหลอนประสาท ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนเห็นภาพต่าง ๆและเข้าใจว่าตนสามารถติดต่อกับวิญญาณหรือเทพเจ้าได้ ชาวอินเดียนแดงเผ่าอินคา (Incas) ในอเมริกาใต้เคี้ยวใบโคคา (COCA) ซึ่งมีโคเคน โดยถือว่าเป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้ แต่แรกใบโคคานี้ใช้เฉพาะในหมู่พวกกษัตริย์ของเผ่า แต่ต่อมาเมื่อประเทศสเปนเข้าครอบครองชนเหล่านี้ ใบโคคาก็ถูกนำมาใช้ในหมู่ชาวอินเดียนแดงทั่วไปเพื่อช่วยให้พวกเขามีกำลังทำงานหนักรับใช้ชาวสเปนได้ เมื่อวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าขึ้นยาหรือสารเสพติดก็เพิ่มปริมาณและชนิดขึ้น และมีการนำมาใช้อย่างผิด ๆ หรือเสพติดกันมาก ตัวอย่างเช่น ฝิ่น เป็นที่รู้จักและจำหน่ายมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาลโดยชาวเมโสโปเตเมีย (๕,๐๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช) และแพร่หลายและรักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคบิด โรคติดสุรา ฯลฯ ได้ นานทีเดียวกว่าอังกฤษจะรู้ฤทธิ์ในการเสพติดของฝิ่น และเมื่อนั้นฝิ่นก็ถูกนำไปใช้เพื่อการเสพติด โดยอังกฤษพยายามนำเอาไปแพร่ ในเมืองจีนเพื่อให้ชาวจีนติดฝิ่น และตนเองผูกการค้าฝิ่นแต่ผู้เดียว จนกระทั่งเกิดสงคราม ฝิ่นกับประเทศจีนในปีค.ศ.๑๘๓๙ - ๑๘๔๒


ประเทศไทยก็มีประวัติการเสพฝิ่นมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พระเจ้าอู่ทอง) ประมาณ ๖๐๐ ปีเศษมาแล้ว ในสมัยนั้นก็มีหลักฐานว่าพระมหากษัตริย์ทรงเล็งเห็นโทษของการเสพฝิ่น และทรงลงโทษผู้เสพติดเช่นกัน ระหว่างสงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา (American civil war) ค.ศ. ๑๘๖๑ - ๑๘๖๕ เริ่มมีการนำเข็มฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังมาใช้ ทำให้มีผู้นำมอร์ฟีนมาใช้ในลักษณะยาเสพติด ต่อมาเมื่อคนรู้จักการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เฮโรอีนซึ่งเป็น diethylated form ของมอร์ฟีนก็ถูกนำมาใช้แทนมอร์ฟีน


กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีการนำเอาโบรไมด์ (Bromide) มาใช้เป็นยาสงบประสาทและรักษาโรคลมชักซึ่งได้รับความนิยมมากพอ ๆ กับยาวาเลียม (Valium) และยาริเบรียม (Librium) ในปัจจุบัน แต่โบรไมด์สำสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิกลจริต และลายสมองอย่างถาวรด้วย ในระยะใกล้เกียงกันก็มีผู้ผลิตยาบาร์บิทุเรท (Barbiturate) และยาสงบประสาทตัวอื่น ๆ และได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน โดยผู้ใช้ไม่ทราบถึงฤทธิ์ในการเสพติดของยาเหล่านี้


ปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๙ มีผู้พบโคเคนและกัญชาซึ่งมีฤทธิ์ทำให้จิตใจสบายโคเคนพบว่ามีประโยชน์ทางการรักษาโรคด้วยโดยใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ดังนั้นโคเคนจึงเป็ฯที่นิยมใช้เป็นผลให้มีการเสพติดโคเคน


ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ แอมเฟตามีนถูกนำมาใช้ในกองทหารญี่ปุ่น เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เพื่อให้ร่างกายมีกำลังกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา พอหลังสงครามยาซึ่งกองทัพญี่ปุ่นกักตุนไว้มาก็ทะลักสู่ตลาด ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นใช้ยากันมาก ในปี ค.ศ.๑๙๕๕ คาดว่ามีชาวญี่ปุ่นติดแอมเฟตามีนราวร้อยละ ๑ ระหว่าง ค.ศ.๑๙๖๐ - ๑๙๗๐ ในประเทศสวีเดนมีการใช้ยา Phenmetrazine (Preludin) ซึ่งคล้ายแอมเฟตามีน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำด้วย ในสหรัฐเมริกาพวกฮิปปี้ซึ่งเคยนิยมใช้ แอลเอสดี (LSD) หรือ Lysergic Acid Diethylamide) ก็ค่อย ๆ หันมาใช้แอมเฟตามีนฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เช่นกัน


ระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๖๐ - ๑๙๗๐ ยาหลอนประสาทเริ่มถูกนำมาใช้และใช้มากหลัง ค.ศ. ๑๙๗๐ ผู้เสพส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันวันรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางโดยเริ่มจาก แอลเอสดี ซึ่ง Hofmannเป็นผู้ค้นพบในปี ค.ศ.๑๙๕๓ เนื่องจากแอลเอสดีทำให้เกิดอาการล้าย วิกลจริต จึงมีนักจิตวิเคราะห์บางคนนำมาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วนด้วย เพราะคิดว่ายานี้จะช่วยกำจัด "Repression" ให้หมดไป ด้วยเหตุที่ยานี้ผลิตง่ายปัจจุบันจึงเป็นปัญหามากในเมริกา เนื่องจากกัญชาซึ่งเป็นยาช่วยให้ผู้เสพรู้สึกเป็นสุขและความรู้สึกไวขึ้น เป็นยาที่หาได้ง่าย จึงมีการลักลอบใช้อย่างผิดกฎหมายกันมาในเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๖๐ เป็นต้นในยุโรปก็เช่นกัน เพิ่งจะมีการใช้กัญชาในเวลาไล่เลี่ยกันนี้ โดยทหารของกษัตรย์นโปเลียนเป็นผู้นำมาจากประเทศอียิปต์ทั้ง ๆ ที่กัญชาเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในประเทศอินเดียและประเทศในเอเชียตะวันออกกลางมาก่อนหลานศตวรรษ ในสหรัฐนิยมใช้ในคนบางกลุ่ม เช่น พวกนักดนตรีแจ๊ส และพวกเม็กซิกันอพยพมาอยู่ในสหรัฐ ในฝรั่งเศสเป็นที่นิยมใช้ในกลุ่มนักประพันธ์ถ้าจะนับตามจำนวนผู้เสพติดหรือผู้ใช้ยาอย่าง ๆ ผิด ๆ สุราและบุหรี่ น่าจะเป็นสารสำคัญของปัญหานี้ แต่เนื่องจากราคาย่อมเยา สามารถหามาเสพได้ง่ายกว่า และไม่ผิดกฎหมาย ทำให้สาร ๒ ชนิดนี้ ดูจะไม่มีความสำคัญเท่าใดนัก แต่กัญชา ยาหลอนประสาท และเฮโรอีน จำนวนผู้ใช้และผู้เสพติดน้อยกว่ากลับเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฮโรอีนกำลังเป็นปัญหามากในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ทั้งนี้เพราะเป็นสารซึ่งมีราคาแพงและผิดกฎหมาย ทั้งอำนาจในการเสพติดก็สูงและวิธีบางวิธียังอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพจึงก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการแพทย์ จนต้องจัดเป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศอย่างหนึ่งที่ต้องรีบแก้ไข



ความหมายของยาเสพติด 


  ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้

๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น

๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้

๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา

๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ 

 

   
ประเภทของยาเสพติด 

ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ แบ่งยาเสพติดให้โทษออกเป็น ๕ ประเภทดังนี้ คือ
ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน อีทอร์ฟีน อะซีทอร์ฟีน ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทรษชนิดร้ายแรง)

ประเภทที่ ๒ ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเดอีน ไดฟีน๊อคซีเลท เอธิลมอร์ฟีน ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไป)
ประเภทที่ ๓ ได้แก่ ยาแก้ไอ แอแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่น โคเดอีน หรือไดฟีน๊อคซีเลทเป็นส่วนผสม ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยา ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ปรุงผสมอยู่ด้วย)

ประเภทที่ ๔ ได้แก่ อะเซติคแอนไฮไดรด์ อะเซติลคลอไรด์ (จัดเป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ หรือประเภท ๒)

ประเภทที่ ๕ ได้แก่ พืชกัญชา พืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในประเภท ๑ ถึงประเภท ๔) 2. ตามวิถีการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ออกฤทธิ์กดประสาท (Depressants) พวกนี้จะออกฤทธิ์กดประสาทสมองศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง และประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่างของร่างกาย ยาพวกนี้ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และเซโคบาร์บิทาล (Secobarbital) ซึ่งเรียกกันในหมู่ใช้ว่า "ปีศาลแดง" หรือ "เหล้าแห้ง" ไดอะซีแพม ทินเนอร์ กาว ฯลฯออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Stimulants) จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทสมองส่วนกลางโดยตรง กระตุ้นการเต้นของหัวใจ และอารมณ์ด้วย เช่น แอมเฟตามีน (Amphetamine) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ยาม้า" หรือ "ยาขยัน" อีเฟดรีน โคเคน ฯลฯ ออกฤทธิ์หลอนประสาท (Hallucinogen) จะออกฤทธิ์ต่อประสาทสมอง ทำให้มีการรับรู้ความรู้สึก (Perception) ผิดไป เกิดอาการประสาทหลอน หรือแปลสิ่งเร้าผิด (illusion) ได้แก่ แอลเอสดี (Lysergicacid dietyhlamide) แกสโซลีน (Gasoline) เปลือกกล้วย ยางมะละกอ และ แฟนไซคลิดีน (Phencylidine) ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย ฯลฯออกฤทธิ์ผสมผสานกัน คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม เมื่อใช้น้อย ๆ จะกระตุ้นประสาท หากใช้มากขึ้นจะกดประสาทและถ้าใช้มากขึ้นอีกก็จะเกิดประสาทหลอนได้

ยาเสพติดชนิดต่าง ๆ ที่แพร่ระบาดในสังคมไทย 

1.    มอร์ฟีน (MORPHINE)

2.    โฮโรอีน (HEROIN)

3.    โคเคน (COCAINE)

4.    กัญชา (CANNABIS)

5.    กระท่อม (KRATOM)

6.    เห็ดขี้ควาย (PSILOCYBE CUBENSIS MUSHROOM)

7.    แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE)

8.    อีเฟดรีน (EPHEDINE)

9.    แอลเอสดี (LSD)

10. บาร์บิทูเรต (BARBITIRATE)

11. สารระเหย (VOLATILE SOLVENT)

12. สุรา (Alcohol)

13. บุหรี่

 

แหล่งที่มา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม © Copyrights 2013 http://www.oncb.go.th