Close

วันสิ่งแวดล้อมโลก

 

ที่มาของภาพ https://pixabay.com/th

 

 

วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน

         วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day และได้มีการสถาปนาวันสิ่งแวดล้อมขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยได้ทำการจัดการประชุมที่เรียกว่า การประชุมสหประชาชาติ เรื่อง สิ่งแวดล้อม (UN Conference on the Human Environment) ณ กรุงสตอกโฮม ประเทศสวีเดน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพิจารณาหามาตรการ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่แต่ละประเทศสมาชิกกำลังประสบอยู่อย่างเร่งด่วน ซึ่งประเด็นสำคัญในการหารือก็คือ ทุก ๆ ประเทศสมาชิกต่างต้องสรรหาวิธีการดูแลแก้ไขปัญหา และให้ความตื่นตัวเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของทุกภูมิภาคทั่วโลกอย่างจริงจังภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสหประชาชาติ (United Nations)

 

ความเป็นมาวันสิ่งแวดล้อมโลก

          วันที่ 5-6 มิถุนายน พ.ศ. 2515 สหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลประเทศสวีเดน ได้จัดการประชุมที่เรียกว่า “การประชุมสหประชาชาติ เรื่อง สิ่งแวดล้อมของมนุษย์” (UN Conference on The Humen Environment) ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่าง ๆ รวมทั้งแผนดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ มีผู้เข้าร่วมประชุม 1,200 คน จาก 113 ประเทศ ผู้สังเกตการณ์มากกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์กร เอกชนและสื่อมวลชนทุกแขนง รวมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก

      ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP: United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น ไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลก จึงได้มีการกำหนดให้วันแรกของการประชุม คือ วันที่ 5 มิถุนายน เป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก” (World Environment Day) พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ” หรือเรียกย่อว่า “ยูเนป” UNEP (UN Environment) ขึ้น ซึ่งรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น และจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น ในประเทศของตน ซึ่งในปี พ.ศ. 2547 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ ได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์ เพื่อใช้ร่วมกันทั่วโลกว่า Wanted ! Sea and Oceans-Dead or Live? “ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย”

 

ความเป็นมาของวันสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

         จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนชาวไทยต้องพบเจอ จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นในการเคลื่อนไหวของทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ที่หันมาร่วมมือกันริเริ่มโครงการอนุรักษ์ เพื่อพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในรูปแบบการจัดตั้งองค์กร มูลนิธิ ชมรมและสมาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นการปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้มีจิตสำนึกในการเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ

            จากนั้น เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 ในการประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบ กำหนดให้  วันที่ 4 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เสนอ โดยมุ่งหวังให้วันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทุกภาคส่วนตระหนักว่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือในการปกป้องและรักษาให้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศคงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตลอดไป

            กระทั่งในเวลาต่อมา เมื่อถึงวันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ความสำคัญของวันสิ่งแวดล้อมไทย ก็จะมีการประสานกับหน่วยงาน หรือองค์กรพัฒนาต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ เช่น การจัดนิทรรศการ การเสวนาและเปลี่ยนความคิดเห็น การประกวดภาพวาด และโครงการอื่น ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
            
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน ที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

 

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

          มีหน้าที่ติดตามและประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่ง แวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี โดยมีความห่วงใยในเรื่องของ ดิน น้ำ มลพิษทางอากาศ ในฐานะที่ทำหน้าที่กระตุ้นเพื่อให้มีการปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล จึงได้กำหนดวิธีการไว้ ดังนี้คือ

 

การสร้างความตื่นตัว

         ในการเรียนรู้เรื่องของสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนิสิตนักศึกษาทั่วไป ให้การสนับสนุนทางวิชาการ เผยแพร่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป

         นอกจากนี้แล้วผลจากการประชุมรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้รับข้อตกลงจากการประชุมมาดำเนินการจัดตั้ง หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน รวมทั้งประเทศไทย รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็น 3 หน่วยงาน คือ

 

กรมควบคุมมลพิษ

       กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมสถาบันการศึกษากับสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสถาบันการศึกษาก็ ได้มีการจัดสอนหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น ในหลายๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบทบาทของสื่อมวลชนก็ได้ทำหน้าที่ส่งเสริม และเกื้อหนุนให้เกิดความตื่นตัวและสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางมากขึ้น

          นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษยชาติมีความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วยกันทั้งสิ้น เพราะทุกชีวิตต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต มนุษย์ พืช สัตว์ ทุกชีวิตจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา รวมถึงสิ่งที่มนุษย์คิดค้นสร้างขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย และจาก พฤติกรรมของมนุษย์ ถ้าจำกัดอยู่เพียงเพื่อดำรงชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันคงจะไม่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัด และทิศทางการพัฒนาประเทศต่างๆทั่วโลกมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม   จึงทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างมากมายเพื่อผลิตสินค้า การพัฒนาประเทศก็นำไปสู่การเกิดภาวะมลพิษในที่สุด ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลสะท้อนกลับมาคุกคามการดำรงชีวิตของมนุษย์เอง ในรูปของวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

            ถึงเวลาแล้วที่หมู่มวลมนุษยชาติควรจะมาร่วมรณรงค์และ ประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ร่วมมือร่วมใจกันรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีต่อไปในอนาคต เพื่อลูกหลานของเรา โดยที่เรามาช่วยกันเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างทัศนคติในการอนุรักษ์ทรัพยากรกลับมาใช้อย่างรู้คุณค่า เราทุกคนควรมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะและรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้สดใส สมบูรณ์สำหรับทุกคนในอนาคต

 




เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

http://www.mcp.ac.th/images/icon_menu_category.gif คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก

http://www.mcp.ac.th/images/icon_menu_category.gif PM 2.5 คืออะไร ?